Tag: facebook

การปรับตัวของ Instagram และ youtube เมื่อ Tiktok กำลังเป็นที่นิยม

ปีที่แล้ว ทางบริษัท Facebook ได้ปล่อยแอปพลิเคชั่นตัดต่อวิดีโอสั้นที่ชื่อว่า Lasso แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าที่ควร Facebook จึงเล็งเห็นว่า Instagram สามารถเข้าถึงฐานของ Creator ที่มีอยู่ และจากความคุ้นเคยของ User ด้วยเครื่องมือตัดต่อวิดีโออย่าง Super zoom และ Boomerang อินสตาแกรม คิดค้นและปล่อยลูกเล่นใหม่ที่ชื่อว่า Reels ฟีเจอร์ตัดต่อวิดีโอสั้นคล้าย Tiktok บน Instagram ได้เปิดให้ลองใช้งานฟีเจอร์นี้ในประเทศบราซิลเป็นประเทศแรก User ส่วนใหญ่ ต้องการให้ instagram มีการรวม Collection ของ Reels เป็นหลักเป็นแหล่ง ทั้งของ User และของคนอื่นๆ หลังจากที่ Reels ได้เริ่มเปิดให้ลองใช้ในประเทศอื่นๆ เช่น เยอรมัน และฝรั่งเศษ Instrgram ได้ปรับเปลี่ยนให้ User สามารถเข้าดู Reels ของผู้อื่นได้ที่หน้า Explorer และสามารถย้อนดู Reels ของตัวเองได้ที่ Profile ความแตกต่างของ reels คือ ให้ผู้ใช้ Instagram สร้างคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่สามารถปรับความเร็วหรือเพิ่มแคปชั่นได้ และสามารถแชร์ลงฟีดหรือสตอรี่ได้ทันที วิดีโอเหล่านั้นจะยังคงความเป็นส่วนตัว ไม่สามารถดาวน์โหลด และแชร์ต่อได้อย่าง Tiktok ที่สามารถใช้เพลง เสียง ฟิลเตอร์ที่คล้ายกันเพื่อสร้างคลิปวิดีโอ ทั้งนี้ เครื่องมือการตัดต่อ ฟีเจอร์ Reels ของ Instagram อาจจะยังไม่หลากหลายเท่า Tiktok

ในส่วนของ youtube ก็ได้พัฒนาฟีเจอร์ และเริ่มต้นทดสอบบนมือถือที่จะให้ผู้ใช้บันทึกวิดีโอที่มีความยาว 15 วินาที เท่ากับค่าเริ่มต้นการบันทึกวิดีโอของ Tiktok
จะเห็นตัวเลือก “Create Video” มีวิธีใช้คล้ายกับ Tiktok โดยกดบันทึกค้างไว้เพื่อบันทึกคลิป และสามารถแตะอีกครั้งหรือปล่อยปุ่มเพื่อหยุดการบันทึก และทำแบบเดิมซ้ำจนกว่าคลิปวิดีโอจะครบ 15 วินาที ภายหลัง Youtube จะเพิ่มการควบคุมและคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น เอฟเฟ็กต์เพลง AR ฟิลเตอร์ต่างๆ หรือปุ่มเพื่อเปลี่ยนความเร็ววิดีโอ เป็นต้น
เชื่อว่าในยุคที่ผู้คนกำลังอินกับเทรนด์การตัดต่อวิดีโอสั้นๆกระชับแบบนี้ ที่กำลังฮิตติดกระแสในช่วงกักตัวโควิด 19 ก็ดี หรือ ช่วง New Normal ต่อจากนี้ก็ดี Platform ยอดฮิตอย่าง Youtube และ Instagram จะยังคงพัฒนาฟังค์ชั่นตัดต่อวิดีโอสั้น เพื่อให้ได้มีฟีเจอร์ที่สมบูรณ์แบบสูสี Tiktok ได้อย่างแน่นอน

source : https://techcrunch.com/2020/06/25/youtubes-latest-experiment-is-a-tiktok-rival-focused-on-15-second-videos/

7 มาตรวัดสำคัญ ที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม!

 

โซเชียลมีเดียที่เราเลือกใช้ทำการตลาดนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และทำให้เราสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลต่างๆได้อย่างง่ายดาย ประกอบกับแพลตฟอร์มต่างๆนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น การใช้มาตรวัดเก่าๆเดิมๆ อาจไม่ทำให้รู้ถึงผลลัพธ์ที่แท้จริง การทำดิจิตอลการตลาดยุคใหม่ จึงไม่ควรดูเพียงแค่ยอด Engagement หรือ Reach การศึกษามาตรวัดอื่นๆอาจจะทำให้คุณนั้นวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

1. Social reach

การวัดจำนวนผู้ใช้ที่เข้าถึงข้อมูลของคุณแบบไม่ซ้ำกัน หมายความว่า 1 คน อาจจะเห็นโพสต์นี้กี่ครั้งก็ได้ แต่ Reach จะนับเป็น 1 ซึ่งจะแตกต่างจากค่า Impression ที่จะแสดงให้เห็นว่าโพสต์ที่มีคนเข้าถึงไปแล้วกี่ครั้งแบบซ้ำกัน

สรุปคือ

Impression คือ คนเห็นโพสต์นี้ไปแล้วกี่ครั้ง
Reach คือ คนเห็นโพสต์นี้ไปแล้วกี่คน

สองค่านี้สำคัญอย่างไรต่อแบรนด์?

 

 

ค่า Reach เป็นค่าที่บ่งบอกว่าเนื้อหาข้อความที่โพสต์นั้นมีประสิทธิภาพมากเพียงใด และสามารถวัดการเข้าถึงแคมเปญโฆษณาที่คุณได้เผยแพร่ออกไป และยังบ่งชี้ได้ว่าโฆษณามีประสิทธิภาพมากเพียงใด ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยค่าตัวเลขนี้จะส่งผลต่อค่าอื่นๆ เช่น ค่า Engagement จำนวนการคลิกลิงค์ และอื่นๆ

 

2. Bounce rate

Bounce rate เป็นเครื่องมือที่เอาไว้วัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของคุณ ว่าสวยงามพอหรือไม่ น่าสนใจพอหรือเปล่า น่าดึงดูดให้เข้าชมมากน้อยแค่ไหน โดยจะวัดเป็นอัตราส่วน และบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ของคนที่เข้าเว็ปไซต์เพียงหน้าเดียวและก็ปิดไปโดยไม่เข้าไปหน้าอื่นๆของเว็บไซต์เลย ยิ่งมีอัตราสูงมากเท่าไหร่ ยิ่งบ่งชี้ได้ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นไม่ดึงดูดให้ผู้เข้าชมนั้นเลือกเสพในส่วนอื่นๆของเว็บไซต์  เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชม อาจจะต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความสวยงามและน่าดึงดูดมากขึ้น เพื่อลดอัตราของ Bounce rate และถ้าทำ SEO ก็ส่งผลให้เว็บไซต์ได้อันดับดีๆอีกด้วย

 

3. Follower growth rate

อัตราการเติบโตของผู้ติดตามเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แสดงว่าเนื้อหาของคุณเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนหรือไม่ ช่วยให้คุณพิจารณาว่าที่โพสต์เป็นประจำนั้นเพียงพอที่จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมของคุณได้รึเปล่า และโพสต์ของคุณสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของคุณหรือไม่

สามารถวัดและติดตามอัตราการเติบโตของผู้ติดตามได้อย่างไร ทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจะแสดงจำนวนผู้ติดตามของคุณและการเติบโต เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกณฑ์มาตรฐานผู้เข้าชม และตั้งค่าช่วงเวลาที่ต้องการเพื่อวัดค่า ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการดู Feedback ของแต่ละโพสต์คุณอาจจะดูความแตกต่างของผู้เข้าชมเพียงระยะสั้นๆ แต่หากคุณต้องการทำความเข้าใจ Feedback ของแคมเปญ คุณจะต้องดูความแตกต่างในระยะยาว หากอัตราการเติบโตของคุณไม่ดีพอ ให้ลองเปลี่ยนแปลงความของถี่โพสต์ หัวข้อเนื้อหา รูปแบบ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น โพสต์เนื้อหาภาพข้อความสลับกับวิดีโอ เป็นต้น

 

4. Engagement

 

 

Engagement ที่แปลว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มลูกค้า แล้วค่า Engagement นั้นสำคัญไฉน?

เพราะมันแสดงให้เห็นว่า มีคนจำนวนเท่าใดที่โต้ตอบกับเนื้อหาของคุณ คุณอาจพบว่าผู้ชมของคุณมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ในรูปแบบวีดิโอ มากกว่า infographic หรือสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าคอนเทนต์แบบไหนมีแนวโน้มที่จะได้รับค่า Engagement มากในอนาคต ค่า Engagement จะบ่งชี้ว่าแบรนด์ของคุณเชื่อมโยงกับลูกค้าของคุณมากน้อยเพียงใด โดยได้มาจากยอด “ไลค์ คอมเม้นต์ แชร์ เซฟ” หรือการมึปฏิสัมพันธ์กับคอมเทนต์นั้นๆนั่นเอง

มีมากมายหลายวิธีมากมายที่ยังสามารถช่วยเพิ่ม Engagement ให้กับแบรนด์ของคุณได้ วิธียอดฮิตที่เหล่า Digital Marketing ทำกันเป็นประจำ ก็ไม่พ้นการซื้อ Ad บูสท์โพสต์ แต่ก็มักจะได้ค่า Engagement ที่ไม่มีคุณภาพ วิธีเพิ่มค่า Engagement ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเงินซักบาท คือ…

  • Content ต้องมีความน่าสนใจ ดึงดูด
  • โพสต์ในเวลาที่เหมาะสม
  • ตรงกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ได้ตั้งไว้

 

 

5. Sentiment

 

 

อารมณ์และความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายสำคัญ เพราะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเรามีภาพลักษณ์แบบไหนในสายตาของลูกค้า  โดยผ่านกระบวนการคัดกรองข้อความบน Social Media ผ่านโครงสร้าง Algorithm ได้ Output ออกมาและแบ่งแยกได้ดังต่อไปนี้

  • Positive การแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก
  • Nuetral การแสดงความคิดเห็นแบบเป็นกลาง
  • Negative การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ

หากเราเห็นค่าของของอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายไปในทิศทางที่เป็นลบมากเกินไป แบรนด์จะต้องหาทางแก้ไขโดยการฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ คอยดูความเคลื่อนไหวต่างๆของผู้บริโภค เสียงของผู้บริโภคที่อยู่บนโลก Social ผ่านการ Monitor และยังสามารถช่วยเฝ้าระวังและป้องกันการเกิด Crisis ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

เช่น ลูกค้าไม่พอใจในการบริการของแบรนด์ และโพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์เพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ หากแบรนด์ไม่แก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจเกิดการแชร์ต่อ และอาจจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์อีกด้วย

 

6. Social media audience demographics

บุคคลที่สำคัญต่อแบรนด์ คือ ลูกค้า  และสถิติสำคัญ ก็คือการรวบรวมข้อมูลต่างๆของกลุ่มลูกค้า Demograpic  คือ ข้อมูลประชากร หรือข้อมูลที่จัดทำขึ้นตามประเภทคุณลักษณะของประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น อายุ เพศ ที่อยู่อาศัย การศึกษา รายได้ ฐานะทางสังคม และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพกลุ่มประชากรเป้าหมายของคุณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มหรือโอกาสทางการตลาดได้เช่นกัน

สามารถดูข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มประชากรเป้าหมายที่เข้าเยี่ยมชม Facebook Page หรือ Instagram Account ได้ที่ Facebook Audience Insights แล Instagram Insights หรอหากเป็นแพลตฟอร์มอื่น ก็สามารถเข้าถึงการดูข้อมูลเชิงลึกได้เช่นกัน

 

7. Fan base

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญต่อแบรนด์ ยิ่งเป็นลูกค้าที่คอยเกื้อหนุนแบรนด์ ช่วยโปรโมทแบรนด์ของคุณ เป็นแฟนคลับแบรนด์ของคุณ หรือที่เรียกอีกนัยหนึ่งว่า Brand Royalty กลุ่มลูกค้าผู้ที่ภักดีต่อแบรนด์  นอกจากจะรู้จำนวนและข้อมูลของกลุ่มลูกค้าคร่าวๆแล้ว ก็ควรที่จะต้องคำนวณแฟนคลับที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณด้วย โดยสามารถวัดได้จากการที่พวกเขาติดแท็กเป็นประจำ พูดถึงแบรนด์เป็นประจำ แชร์และรีวิวด้วยทัศนคติในเชิงบวกอยู่เสมอ มีแนวโน้มที่จะดูวิดีโอของคุณและช่วยกดแชร์อยู่เสมอ หรือติดตามข้อมูลต่างๆอย่างใกล้ชิด กดไลค์ กดแชร์ และช่วยสร้าง Engagement ที่มีคุณภาพให้กับเพจของคุณ

ทำไมถึงต้องรู้อัตราการเจริญเติบโตของกลุ่มลูกค้าในระดับ Loyal Customer

เนื่องจากเป็นบุคคลสำคัญที่คอยซัพพอร์ทแบรนด์อยู่เสมอ จึงควรที่จะต้องรู้อัตราการเติบโตหรือถดถอยของกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้อยู่เรื่อยๆ หากมีอัตราการถดถอยของกลุ่มลูกค้าที่จงรักภักดี ก็ควรเฟ้นหาวิธีรักษาฐานลูกค้าที่อยู่ในระดับ Loyal Customer  ดูแลและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้ากลุ่มเก่าที่ทีที่สำคัญกว่าการสร้างฐานลูกค้าใหม่ เช่น การคิดค้นโปรโมชั่นสำหรับ Member Card   การให้ Service ที่เหนือกว่า เป็นต้น

 

 

Source :  https://contentmarketinginstitute.com/2019/07/social-media-metrics-brand/

 

 

 

Contact us

What SocialEnable do ?

Watch our 1 minute for SocialEnable